
ปี 2009 Maclean และคณะทำการศึกษาผลของแสงความยาวคลื่น 405 nm ต่อการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคได้แก่ แบคทีเรียแกรมบวก (Staphylococcus aureus, MRSA, Staphylococcus epidermidis, Streptococcus pyogenes, Enterococcus faecalis, Clostridium perfringens); แบคทีเรียแกรมลบ (Acinetobacter baumannii, Pseudomonas aeruginosa, Escherichia coli, Proteus vulgaris, Klebsiella pneumoniae) ซึ่งมักก่อให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล พบว่าแสงความยาวคลื่น 405 nm สามารถยับยั้งได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมถึงเชื้อดื้อยาเช่น MRSA (ภาพที่ 2-3 และตารางที่ 2)
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ทดสอบผลของแสง 405 nm ต่อการฆ่าเชื้อ S. aureus ในสารละลายเชื้อความหนาแน่นต่างๆ (103 CFU/ml, 107 CFU/ml, 109 CFU/ml) พบว่าแสง 405 nm สามารถลดปริมาณเชื้อ S. aureus ได้ 99.9% (ภาพที่ 4) แสดงให้เห็นว่าในกรณีที่มีปริมาณเชื้อตั้งต้นสูงถึง 109 CFU/ml แสง 405 nm ก็ยังสามารถลดปริมาณเชื้อลงได้ 99.9% ประสิทธิภาพของแสง 405 nm ต่อการกำจัดเชื้อขึ้นอยู่กับระยะเวลาและระยะห่างระหว่างแสงกับเชื้อโรค
ดังนั้นการกำจัดเชื้อโดยใช้แสงความยาวคลื่น 405 nm เป็นวิธีที่มีศักยภาพในการช่วยควบคุมการแพร่กระจายของแบคทีเรียก่อโรคหลายสายพันธุ์ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเช่น โรงพยาบาล และพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบการใช้รังสี UV พบว่าการใช้แสง 405 nm ในการฆ่าเชื้อมีข้อได้เปรียบในด้านความสะดวก และ ความปลอดภัยสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย


