ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแสง (Visible Light) และ รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV)

  • แสง เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ประเภทหนึ่งที่มีค่าความถี่อยู่ในช่วง 4.3 x 1014 ถึง 7.5 x 1014 Hz และความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400-780 nm ซึ่งเป็นช่วงที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ เรียกว่า Visible light โดยตาของมนุษย์สามารถมองเห็นแสงในช่วงนี้เป็นสีรุ้ง จำแนกเป็น 6 กลุ่มสี ดังนี้

      แสงสีม่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-440 nm

      แสงสีน้ำเงินความยาวคลื่นประมาณ 440-480 nm

      แสงสีเขียวความยาวคลื่นประมาณ 480-560 nm

      แสงสีเหลืองความยาวคลื่นประมาณ 560-590 nm

      แสงสีส้มความยาวคลื่นประมาณ 590-630 nm

      แสงสีแดงความยาวคลื่นประมาณ 630-780 nm

  • รังสี UV เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สั้น ช่วงต่อจากแสงสีม่วง (ระหว่าง Visible Spectrum กับ X-ray) มีค่าความถี่อยู่ในช่วง 1015 ถึง 1018 Hz และความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 100-400 nm ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นแสงสีน้ำเงิน/ม่วงจากหลอด UV เกิดจากรังสี UV ส่องไปกระทบวัตถุที่มีความสามารถในการเรืองแสง UV ภายในหลอด (UV Fluorescent Substance) ทำให้พลังงานบางส่วนของ UV ถูกวัตถุนั้นดูดกลืนไป และสะท้อนคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า

UV ออกมา ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ในช่วงที่สายตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ ทำให้เรามองเห็นเป็นโทนสีฟ้าหรือสีม่วง (ซึ่งเป็นสีในย่านความถี่สูงสุดที่สายตามนุษย์มองเห็นได้)

รังสี UV ยิ่งความยาวคลื่นน้อย ยิ่งมีพลังงานสูง ทำให้เกิดการเปลียนแปลงทางเคมีได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดอนุพันธุของสารตั้งต้นได้มากมาย รวมถึงทำให้เกิดก๊าซโอโซน (O3) ซึ่งเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจและปอด

รังสียูวีซีสามารถทำลายพันธะเคมีของพลาสติก ทำให้อายุการใช้งานของพลาสติกลดลง รวมทั้งมีผลต่อฉนวนกันความร้อน หรือปะเก็นต่างๆ ที่ทำจากยาง ทั้งนี้พลาสติกส่วนใหญ่ที่ระบุว่าทนต่อรังสียูวีคือพลาสติกที่ผ่านการทดสอบโดยใช้รังสียูวีบี (UVB) ไม่ใช่การทดสอบด้วยรังสียูวีซี

หลอด UV มักปล่อยสารพิษ เช่น ปรอท, โอโซน ซึ่ง โอโซนเป็นที่มีความสามารถทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์สูง โอโซนเป็นเป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรง กัดกร่อนพื้นผิววัสดุได้ จึงต้องใช้กับพื้นผิวที่ทนการกัดกร่อน เช่น เหล็กปลอดสนิม

ที่มา:

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ผกากรอง วนไพศาล ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟิสิกส์ มัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 6

สรายุทธ สรวิชญ์ธนากุล. (2556). การใช้แอลอีดีสำหรับการตรวจหาหลักฐานทางชีววิทยาในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ = The use of LED for detecting biological fluids evidence in crime scene investigation / สรายุทธ สรวิชญ์ธนากุล. เชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:120548

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) https://www.nimt.or.th/main/

Fritzsche, H. and Phillips, M (2023, March 3). electromagnetic radiation. Encyclopedia Britannica. https://www.britannica.com/science/electromagnetic-radiation